อับเดตข่าวสารและโปรโมชั่นจาก maneedee.com

รวมเรื่องราวดีๆ สุขภาพ การกิน การอยู่ การใช้ชีวิต ปรัชญา เสริมกำลังใจ ที่นี้ maneedee.com

ไวรัสเมอรส์ (MERS) คืออะไร??

 

 

 

MERS 01
 

เชื้อไวรัสเมอร์สคืออะไร มากจากไหน??
 

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012 หรือกลุ่มอาการทางเดินหายใจตะวันออกกลาง Middle East Respiratory Syndrome: MERS หรือโรคเมอร์ส เป็นเชื้อสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่มไวรัสโคโรนา (MERS Corona Virus :MERS CoV) ขณะนี้พบว่า การระบาดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง และล่าสุด มีการระบาดที่เกาหลีใต้ซึ่งมีรายงานการติดเชื้อจากคนสู่คนในวงจํากัด ซึ่งพบในกลุ่มผู้ป่วยด้วยกัน
หลายกลุ่ม ได้แก่ ผู้ดูแลใกล้ชิด สมาชิกครอบครัวเดียวกัน บุคลากรทางการแพทย์แต่ยังไม่มีการแพร่กระจาย ของเชื้อในวงกว้าง
 
ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2558 องค์การอนามัยโลก รายงานพบผู้ป่วยยืนยัน จํานวน 1,190 ราย เสียชีวิต 444 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.31 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 66) อายุเฉลี่ย 49 ปีโดยพบรายงานผู้ป่วย ทั้งหมดจาก 25 ประเทศ
 
 
 
MERS 02
 

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสเมอร์ส

 
อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ MERS CoV บางรายไม่มีอาการ ในรายที่มีอาการบางรายมีอาการทาง ระบบทางเดินหายใจเล็กน้อย เช่น ไข้ไอ นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางราย จะมีอาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องร่วง ร่วมด้วย และบางรายอาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจรุนแรง และถึงแก่ชีวิตได้ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงอาจทําให้เกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลว จึงควรได้รับการดูแลในห้องดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ
(intensive care unit) โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หายใจหอบ และหายใจลําบาก ปอดบวม ซึ่งในจํานวนผู้ป่วยทั้งหมด พบว่าจะมีรายงานจํานวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต ร้อยละ 36 ส่วนในผู้ที่มีโรคประจําตัวซึ่งทําให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ลดน้อยลง การแสดงของโรคอาจมีความแตกต่างออกไป
 
 
ระยะฟักตัวของโรค : มีระยะฟักตัว 2-14 วัน
 
เนื่องจาก พบรายงานการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล (Hospital Setting) สู่บุคคลในครอบครัว ได้แก่ ญาติที่ไปเยี่ยม และให้การดูแลผู้ป่วย ผู้ที่มารับการรักษาให้หอผู้ป่วยเดียวกัน และผู้สัมผัสใกล้ชิด (Family cluster and closed contact cluster) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และการแยกผู้ป่วย (Isolation Precautions) องค์การอนามัยโลกแนะนําการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และแยกผู้ป่วย โดยใช้หลักการของ Standard precautions รวมถึง Hand hygiene, Respiratory hygiene and cough etiquette, Safe injection practices และข้อปฏิบัติอื่นๆ โดยพบว่า โรคติดเชื้อ ทางเดินหายใจโดยทั่วไป ใช้ droplet precautions และ contact precautions สําหรับโรค MERS ส่วนใหญ่เป็น droplet transmission ถ้าไอ จาม ในระยะ 1 เมตร สามารถ แพร่กระจายเชื้อได้ อย่างไรก็ตาม airborne transmission มีความเป็นไปได้ขณะนี้พบว่าอัตราตายของโรคเมอร์ส ค่อนข้างสูง (ร้อยละ 30 - 50) ดังนั้น องค์การอนามัยโลก และศูนย์ป้องกัน และควบคุมโรคแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (US CDC) จึงแนะนําให้ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบ Airborne precautions โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวม หรือไอมาก รวมทั้งหัตถการที่ก่อให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็ก เช่น การใส่ท่อช่วย หายใจ การดูดเสมหะ การเก็บเสมหะ การพ่นยา เป็นต้น
 

ความรุนแรงของไวรัสเมอร์ส

 
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเมอร์สจะมีอาการคล้ายเป็นโรคระบบทางเดินหายใจมีไข้สูงไอ หายใจหอบ หายใจขัด ถ่ายเหลว หากเป็นหนักจะเสียชีวิตทันทีภายใน 3 -4 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศชาย โดยเชื้อจะอยู่ในละอองน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอจาม โดยผู้ป่วยเกือบทั้งหมดร้อยละ 96 มีโรคประจำตัว 1 โรคหรือมากกว่า ได้แก่เบาหวาน รองลงมาคือความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต
 
MERS 0X
 

การป้องกันเบื้องต้นจากเชื้อไวรัสเมอร์ส (MERS CoV) 

 
  1. กินร้อน ใชัช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ
  2. ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปากเมื่อจาม
  3. หลีกเลี่ยงไปสถานที่ที่ผู้คนแออัด
  4. สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์
  5. หมั่นออกกำลังกายและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
  6. มาพบแพทย์พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่หากมีประวัติเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย การ์ตา จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย กรีซ และฟิลิปปินส์
 
ที่มาของบทความ : med.mod.go.th
 
ช่วงนี้ใครที่อยู่กรุงเทพ หรือจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่ชาวต่างชาตินิยมไป ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษนะคะ หากเพื่อนๆ อยู่ใกล้ๆ กับคนที่มีอาการไอ จาม ให้เอามือปิดปากปิดจมูกไว้ หรือไม่ก็ใช้ผ้าเช็ดหน้ามาปิด หรือดีที่สุดคือ เดินออกห่างจากคนๆ นั้นเลยคะ และทุกครั้งที่กลับถึงบ้าน หรือ ที่ทำงาน หรือ ก่อนทานอาหาร ให้ล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้ง เนื่องจากเชื้อโรคอาจติดอยู่ที่มือเราได้ เป็นไปได้ช่วงนี้พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีคนอยู่เยอะๆ จะดีที่สุดนะคะ ยังไงก็ปลอดภัยไว้ก่อนนะคะ ด้วยความเป็นห่วง จาก แอดมิน มานี่ดี