รวมเรื่องราวดีๆ สุขภาพ การกิน การอยู่ การใช้ชีวิต ปรัชญา เสริมกำลังใจ ที่นี้ maneedee.com
ยาแก้อักเสบ หาใช่แก้อักเสบ (ครอบจักรวาล) แต่คือ ยาฆ่าเชื้อ (แบคทีเรีย)
1. ทำไมแต่ละครั้งที่ไปหาหมอ ถึงได้ยาแก้อักเสบมาไม่เหมือนกัน สังเกตดูว่าคนละชื่อกันเลย เช่น แอมพิซิลลินหรืออะม็อกซีซิลลิน
2. ตามความเป็นจริงแล้วยาแก้อักเสบแต่ละตัวกินแทนกันได้ไหมคะ หรือว่าเป็นโรคนี้ต้องกินยาแก้อักเสบตัวนี้ ถ้าเป็นโรคอื่นต้องกินยาแก้อักเสบตัวอื่น
3. ถ้าสมมุติว่ามียาแก้อักเสบอยู่ที่บ้าน เช่น แอมพิซิลลิน แล้วเราเจ็บคอเป็นทอนซิลอักเสบ จะเอายาแอมพิซิลลินมากินได้ไหม หรือต้องซื้อยาตัวอื่นคะ
4. ดิฉันเคยเห็นคนแถวบ้านเป็นแผลมีหนองที่นิ้วเท้า (เกิดจากเล็บขบ) แล้วเขานำยาแก้อักเสบมาถอดแคปซูลออก แล้วโรยยาใส่ที่แผลเลย ไม่ทราบว่าการทำแบบนั้นจะได้ผลดีหรือจะเป็นอันตรายอย่างไรหรือเปล่าคะ
5. ยาแก้อักเสบตัวไหนที่ดีที่สุดหรือรักษาได้ครอบคลุมมากที่สุด และยาตัวไหนที่ทำให้แพ้ได้ง่ายบ้างคะ เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงไม่ซื้อมากินค่ะ
ก่อนจะตอบปัญหาเกี่ยวกับยา
ส่วนคำถามของคุณ ขอตอบเป็นข้อๆ ดังนี้
1. ที่ให้ยาปฏิชีวนะแตกต่างกันก็เพราะการเจ็บป่วย (เรียกให้จำเพาะเจาะจง ก็คือ "การติดเชื้อแบคทีเรีย") แต่ละครั้งเกิดจากสาเหตุ (เชื้อแบคทีเรีย) ต่างกัน หรือถึงแม้จะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกัน แต่แพทย์ต่างคนอาจเลือกใช้ยาปฏิชีวนะต่างชนิด หรือแพทย์คนเดิมอาจเลือกใช้ยาปฏิชีวนะต่างชนิดในแต่ละครั้งก็ได้ เพราะเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งๆ มักจะมียาปฏิชีวนะให้เลือกใช้ได้มากกว่า ๑ ชนิด ขึ้นไป เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง อาจเลือกใช้เพนวี อะม็อกซีซิลลิน หรืออีริโทรไมซินก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับความนิยมของแพทย์ หรือไม่ก็อาจขึ้นกับว่ามียาตัวใดอยู่ในตู้ยาขณะนั้นๆ นอกจากนี้ ตัวยาชนิดเดียวกัน อาจมียี่ห้อและรูปแบบของยาแตกต่างกัน ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาต่างชนิดกันก็ได้ ตรงนี้ก็ต้องเรียนรู้ว่า ยายี่ห้อต่างๆ มีชื่อสามัญทางยา (ชื่อแท้) ว่าอะไร แล้วให้จดจำชื่อสามัญทางยาเป็นสำคัญ
2. และ 3. คำตอบเหมือนกัน คือ ขึ้นกับว่ายาชนิดนั้นๆ มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดใด ยาปฏิชีวนะ ๑ ชนิดย่อมสามารถรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียได้มากกว่า ๑ โรค และโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ๑โรค ก็อาจมียาปฏิชีวนะใช้รักษาได้มากกว่า ๑ ชนิด (ดูตัวอย่างในตาราง)
4. ไม่แนะนำให้ทำเช่นนั้นครับ เพราะอาจใช้ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร และอาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นแพ้ยาที่โรยได้ พบอยู่บ่อยๆ ว่าชาวบ้านจะนำเพนิซิลลิน หรือไม่ก็ซัลฟามาทาหรือโรยแผล วันแรกๆ ก็ ดูแห้งดี แต่วันต่อมากลับมีอาการเห่อ แดง คัน และเกาจนเป็นหนองเฟะ หรือไม่ก็พบว่าผงยาที่โรยนั้นเกาะกันเป็นแผ่นปกคลุมแผลไว้ ดูจากภายนอกนึกว่าแผลแห้ง แต่ข้างใต้แผลนั้นกลับมีหนองขังอยู่ ถ้าเป็นแผลที่ผิวหนัง ขอแนะนำให้ทำความสะอาดแผลด้วยการใช้น้ำสุกหรือน้ำเกลือชะเอาคราบหนองออก แล้วใส่น้ำผึ้ง (ทาลงบนแผล) ใช้ผ้ากอซปิด ทำวันละ ๒ ครั้ง เพียงไม่กี่วันจะดีขึ้น ส่วนแผลที่เกิดจากเล็บขบ ถ้าจะได้ผล อาจต้องให้หมอขริบเอาเล็บ ที่ขบออกไป
5. ในโลกนี้ไม่มียาปฏิชีวนะชนิดใดที่ดีที่สุด หรือรักษาได้ครอบจักรวาลที่สุด ยาแต่ละตัวมีขอบเขตในการรักษาโรคแตกต่างกันไปครับ การใช้ยาปฏิชีวนะต้องใช้ให้ถูกโรค (ถูกกับเชื้อ) ถูกขนาด และถูกระยะ (ครบวัน) ถ้าใช้ผิดโรคก็ไม่ได้ผล ถ้าผิดขนาดก็อาจไม่ได้ผล (ขนาดน้อยไป) หรือเป็นอันตราย (ขนาดมากเกินไป) ถ้าไม่ครบระยะ โรคอาจกำเริบ และเชื้ออาจดื้อยาตามมา
ที่มาของบทความ http://www.doctor.or.th/article/detail/2497ข้อมูลสื่อชื่อไฟล์: 252-006นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 252เดือน/ปี: เมษายน 2543 คอลัมน์: พูดจาภาษายานักเขียนหมอชาวบ้าน: รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ